fbpx

a day 204: Ted

80 ฿

Out of stock

a day ปีที่ 17 ฉบับ 204ประจำเดือนสิงหาคม 2560

main course: TED’s Ideas Worth Spreading

เคยไปงาน TED หรือ TEDx กันไหม

เผื่อใครไม่รู้จัก TED คือเวทีทอล์กที่มีสาขาทั่วโลก มีเครือข่ายแข็งแรงมากทั้งที่เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร จุดที่ทำให้ TED แข็งแรงได้ขนาดนี้คือความตั้งใจจะเผยแพร่ไอเดียเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้ชมหรือสังคม (วงเล็บว่าอย่างแรงกล้า) เบื้องหลังการทำงานของพวกเขาจึงน่าสนใจไม่แพ้กัน

เราเลือกตามติดการทำงานของทีม TEDxBangkokที่เพิ่งจัดงานเป็นครั้งที่ 3 ไปหมาดๆ เพื่อค้นหาว่า DNAวิธีคิดแบบ TED และวัฒนธรรมการทำงานแบบคนรุ่นใหม่ของพวกเขานั้นเป็นอย่างไร เพื่อนำมาแชร์แก่คนอ่าน เราอยากให้คอลัมน์เมนคอร์สฉบับนี้เป็นประโยชน์กับคนที่อยากเป็นนักสื่อสาร ใครก็ตามที่อยากเป็นนักผลักดันสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นหรืออย่างน้อยที่สุด นำเคล็ดลับแบบพวกเขาไปใช้ในการทำงานหรือการเรียนก็ได้นะ

interview

- สัมภาษณ์ใหญ่ฉบับนี้้เราคุยกับ 'พี่ปู' พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เพราะเขากำลังจะมีคอนเสิร์ตใหญ่ให้แฟนเพลงยกโขยงไปฟัง แต่บทสัมภาษณ์นี้พิเศษตรงที่เราชวนเขาย้อนเวลากลับไปเล่าที่มาของผลงาน 30 เพลง (เท่าตัวเลขอายุงานในวงการของเขา) ให้เป็นเสมือนบันทึกการเดินทางของศิลปินคนหนึ่งที่เขียนเพลงเพื่อบอกเล่าความรู้สึกนึกคิดของผู้คน และอธิบายสังคมที่เขาอยู่อาศัย มาตลอด 3 ทศวรรษเต็ม

- เราอยากให้คุณได้รู้จัก ศรัณย์ เย็นปัญญา ดีไซเนอร์แห่ง 56th Studio ที่เรียกตัวเองว่า storyteller ผลงานของเขาแสบทรวงน่าจดจำ แต่ใครจะเห็นภาพเบื้องหลังที่เขาเพิ่งผ่านบทเรียนที่ชีวิตมอบให้แบบจัดหนัก การรอดตายจากความป่วยไข้ส่งอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตและแปรรูปออกมาเป็นงานออกแบบที่มีเสน่ห์จัดจ้าน สิ่งที่เขาบอกพวกเราผ่านตัวตนในงานดีไซน์และการมองโลกทุกสิ่งคือให้ 'Seeing the good in the bad' ถ้าอยากรู้ความหมายขอให้พลิกอ่าน

- คนธรรมดาจะช่วยแก้ปัญหาบ้านเมืองได้อย่างไรบ้าง ค้นหาคำตอบผ่านเรื่องราวของ จูน-ชนิสา เรืองคีรีอัญญะ หญิงสาวผู้สนใจด้านกิจการเพื่อสังคม เธอไปศึกษาลงลึกที่อเมริกา ก่อนจะกลับมารับบทบาทเป็น Country Manager ของสตาร์ทอัพขนส่งน่าจับตา Deliveree Thailand ที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาการขนส่งในเมือง

- อ่านความคิดของบรรณารักษ์สาวที่ลุกขึ้นมาเปิดห้องสมุดในบ้านตัวเองอย่าง จารุตา พิพัฒนานันทิ เธอไม่ได้แค่รักหนังสือ แต่ยังคิดหาวิธีการเล็กๆ น้อยๆ ที่จะทำให้คนรอบตัวอ่านหนังสือมากขึ้น เพื่อจะนำไปสู่การเปิดห้องสมุดชุมชนของหมู่บ้านตัวเองในอนาคต

- สัมภาษณ์น่ารักๆ กับดินสอกดสัญชาติญี่ปุ่นของ เบญจมาศ ภู่ประเสริฐ หญิงสาวชาวไทยผู้ย้ายตัวและหัวใจไปใช้ชีวิตร่วมกับคนรักชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้านวาคะคิ และแปรรูปบันทึกวันเวลา 1 ปีที่ผ่านมาออกมาเป็นหนังสือชื่อ Wakaki Four Seasons

report- อัพเดตคลื่นลูกใหม่ที่สะท้อนทิศทางใหม่ของงานสตรีทอาร์ตเมืองไทย ผู้ใช้กำเเพงเป็นสื่อกลางเล่าเรื่องระหว่างสัตว์ป่า ธรรมชาติ เเละมนุษย์ เขาคือปิยศักดิ์ เขียวสะอาด ศิลปินสตรีทอาร์ตชาวเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันดีในวงการสตรีทอาร์ตเมืองไทยในชื่อ MAUY

- สำรวจเบื้องหลังของ Youth Drama Plus เวทีผลิตเด็กรุ่นใหม่ที่ออกมาต่อเติมลมหายใจของวงการละครเวทีไทยมากว่า 10 ปี ผ่านสายตาของผู้ริเริ่มอย่างอาจารย์นินาท บุญโพธิ์ทอง

- 'NIHON HOMEเห็นบ้านนี้แล้วอยากร้อง ‘ไฮ่!’ บทความชวนวิเคราะห์ดีเทลความเป็นบ้านญี่ปุ๊นญี่ปุ่น ถ่ายทอดโดยสถาปนิกชาวไทยผู้คุ้นเคยกับวัฒนธรรมปลาดิบ

travel

'To the top of Queenstown Hill เดินขึ้นเขากับเขาและเธอที่นิวซีแลนด์' เรื่องท่องเที่ยวส่งตรงจากปลายนิ้วที่เขียนเรื่องและกดชัตเตอร์ถ่ายรูปได้สวยงามน่ารักของ เพลง-ต้องตา จิตดี วง Plastic Plastic ที่ประเดิมเขียนให้เราเป็นตอนแรก (ต่อจากนี้ติดตามผลงานเธอได้ในโซน travel เลยนะ) เห็นรูปถ่ายคุณภูเขาและพื้นน้ำสีครามแล้วจะอยากจะเก็บกระเป๋าไปเที่ยวซะเดี๋ยวนั้น นี่ไม่ได้พูดเกินจริง!

article

- 'Kyoto Passion' นักเล่าเรื่องเชิงวิเคราะห์อย่าง Little Thoughts พาเราไปฟังเรื่องราวของแบรนด์ผ้าทอสูงค่าของเกียวโต ว่าศิลปะแขนงนี้สะท้อนมุมมองน่าศึกษาของเมืองแห่งนี้ออกมาอย่างไรบ้าง อ่านเต็มๆ ในคอลัมน์พาทัศนศึกษาความคิดดีๆ ของหลากเมืองในโลกอย่าง Visionary City

- นักเขียนที่เล่าเรื่องเล็กๆ ได้ตรึงใจเราเสมออย่าง จิราภรณ์ วิหวา เล่าเรื่องการย้อมสีผมของเธอที่เกิดจากความพยายามกลบสีผมหงอกที่มาก่อนวัยอันควร ก่อนจะเลยเถิดไปถึงการคุ้ยหาภูมิปัญญาการย้อมผมด้วยวิธีธรรมชาติ อ่านได้ในคอลัมน์ มณฑล จิราภรณ์

- 'ใส่หัวใจให้เครื่องจักร' คอลัมน์ world while web แชมป์-ทีปกร ชวนสำรวจประเด็นความเป็นมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับบรรดาปัญญาประดิษฐ์หรือซอฟแวร์ต่างๆ ว่าเราจะออกแบบวิธีการทำงานและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมันอย่างไรดี