fbpx

a day 193: Fabric

80 ฿

Out of stock

*นิตยสารสภาพ 75%

เนื่องจากนิตยสารถูกตีพิมพ์มาเป็นเวลานานแล้ว
จึงมีสภาพไม่สมบูรณ์เหมือนใหม่
สันและขอบมีรอยเปื้อน (หนังสือมือ 1)

Main Course ‘เปลื้องผ้า’

ไม่ได้จั่วหัวชวนหวิวแต่อย่างใด น้องๆ a team junior 12 เขามาพร้อมเมนคอร์สเรื่อง ‘ผ้า’ สิ่งที่อยู่ใกล้ชิดเราที่สุด (หรือจะตอบว่าไม่จริง) นอกจากทำหน้าที่เป็นปัจจัย 4 ในชีวิต ในผ้าแต่ละผืนยังซ่อนเรื่องราวที่ถักทอมันขึ้นมา หลายอย่างในชีวิตเราก็ได้รับอิทธิพลจากผ้าอย่างไม่น่าเชื่อ ยังไม่นับการสร้างสรรค์มากมายที่เกิดจากผ้าซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งแสนธรรมดา มาพลิกหน้ากระดาษไปดูเบื้องหลังคนสร้างผ้า แบรนด์ผ้า วิธีพับผ้า คนนุ่งผ้า...และอีกมากมายเกี่ยวกับผ้าที่กล่าวไม่หมด! เอาเป็นว่าถ้าอยากรู้ก็ต้องตามมาอ่านเมนคอร์ส ‘เปลื้องผ้า’ กันเองนะจ๊ะ

Report Section

กำลังอยากไปไทเป? ตามมาอ่านรีพอร์ท Taipei 101 ลายแทงแนะนำที่เที่ยวแลนมาร์กสุดแมสไปจนถึงไลฟ์เฮ้าส์เล็กๆ สุดอินดี้ รับรองว่าได้ลิสต์ให้ไปตามรอย แต่ถ้ากำลังอยากช็อปปิ้งเสื้อคราม เราอยากให้ได้อ่านรีพอร์ทเรื่อง Bring Local’s Charm to City ที่ว่าด้วยร้านเสื้อเล็กๆ แต่พลังใจใหญ่อย่าง Made By Hotcake ที่ต้องการนำเสนอผ้าไทยในรูปแบบผลิตภัณฑ์สุดป๊อบ สุดท้ายถ้ากำลังอยากอัพเดตเรื่องวัยรุ่น เราอยากชวนมาเติมพลังกับรีพอร์ท The Sound of E-Sarn ที่เล่าเรื่องวง ‘อีสานดรัมไลน์’ วงดรัมไลน์สุดเจ๋งของคนรุ่นใหม่ชาวอีสานที่ไปคว้าแชมป์บนเวทีระดับโลกมาแล้ว

Interview Section

ชื่อ เปอร์-สุวิกรม เด็กหนุ่มที่โด่งดังจากภาพยนตร์ Final Score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอนท์ ไม่เคยหายไปจากกระแส ในวันนี้ที่เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ทั้งยังมีบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์เป็นของตัวเอง เราตามไปนั่งคุยกับเขาเพื่อสัมผัสชีวิตหลังฉากโทรทัศน์ บอกเล่าผ่านคอลัมน์สัมภาษณ์ใหญ่สุดอย่าง a day with a view เรียกว่าอ่านให้อิ่มกันไปข้าง

ไม่ว่าจะอยู่สายปาร์ตี้ไหมก็คงเคยได้ยินชื่อ Trasher, Bangkok กันมาบ้าง พวกเขาคือกลุ่มนักจัดปาร์ตี้เพลงป๊อบ, นักทำคลิปล้อเลียน, ผู้สร้างซีรีส์เกย์มิติใหม่อย่าง GAY OK BANGKOK และอีกหนึ่งกระบอกเสียงสำคัญของกลุ่มเพศหลากหลาย อ่านบทสัมภาษณ์เข้มข้นของพวกเขาได้ในคอลัมน์ q & a day ส่วนวัยรุ่นสาวอีก 2 คนที่ไม่อยากให้พลาดบทสัมภาษณ์คือ ก้อย-อรัชพร โภคินภากร จากซีรีส์ฮอร์โมนที่กำลังจะมีผลงานใหม่ในภาพยนตร์ O-Negative อ่านความรั่วของเธอได้ในคอลัมน์ talking head กับ เหมย-ณภัสนันท์ ผู้หญิงที่เราเชิญมาขึ้นปกฉบับผ้า สาวนัยน์ตาเศร้าวัย 24 ที่หลายคนคุ้นตาจากโฆษณาชุด ‘จีบได้ แฟนตายแล้ว’ ของ The 1 Card ทำความรู้จักเธอให้มากขึ้นได้ในคอลัมน์ cover ground

ความเก๋ยังไม่หมดเท่านี้ เราขอเชิญทุกคนมาเยี่ยมบ้านกรุ่นบรรยากาศพิเศษของศิลปินอย่าง โอ๊ต มณเฑียร สัมผัสเรื่องราวในสิ่งของไม่ซ้ำใครได้ในคอลัมน์ ‘s ก่อนปิดท้ายแบบสบายๆ ด้วย a pen interview ที่เราพูดคุยกับปากกาของ ธันยพร หงษ์ทอง อดีตบรรณาธิการสารคดีนิตยสาร Wallpaper* ผู้เขียนหนังสือ ‘ระหว่างทางกลับบ้าน’ คอลัมน์ the outsider กับเรื่องราวของกลุ่มคนที่ทำเพื่อผู้พิการอย่าง wheel-go-round คลังข้อมูลออนไลน์เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนบนรถเข็น และ คอลัมน์ เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า กับบทสนทนากับ ทิชา ณ นคร หรือ ป้ามล ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก ที่เชื่อว่าในจิตใจของเด็กทุกคนล้วนมีแสงสว่างซ่อนอยู่

และถ้าใครสนใจโครงการฝึกงาน a team junior อย่าลืมอ่านบทสัมภาษณ์มันๆ ฮาๆ ของน้องๆ ได้ใน q & a team junior นะ

City Section

พวกเราทุกคนกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพราะงั้นจึงควรอย่างยิ่งที่จะอ่านคอลัมน์ urban movement ฉบับนี้ที่เล่าภารกิจการสร้าง ‘ศูนย์ผู้สูงอายุ’ ในอำเภอพยุหะคีรีจังหวัดนครสวรรค์ นี่เป็นโจทย์การออกแบบใหม่ที่ท้าทายเหล่าสถาปนิก แต่ควรค่าแก่การศึกษามาก ต่อมาพลิกมาอ่านคอลัมน์ same same but different ที่เล่าเรื่องระบบตั๋วรถเมล์จากหลากประเทศ จะได้รู้ว่าที่อื่นเขาทำกันอย่างไร สุดท้ายย่างเท้าเข้าสวนไผ่อาบูของ บุญชู สิริมุสิกะ ชายหนุ่มผู้หวนคืนสู่บ้านเกิดในจังหวัดพังงา ในคอลัมน์ กลับบ้าน

Article Section

ยังขอเกาะติดกระแสโอลิมปิกกันต่อ คอลัมน์ made in japan ฉบับนี้ย้อนเวลาไปเจาะรายละเอียดสมัยญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี 1964 ว่ามีอะไรล้ำๆ แค่ไหน (คาดหวังถึงปี 2020 ที่ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพอีกครั้งได้เลย) จากนั้นกระโดดมาที่คอลัมน์ follow me ที่นภพัฒน์จักษ์เล่าเรื่องความบ้าสำเนียงภาษาอังกฤษของคนไทยก่อนจะแชร์เรื่องจริงของการพูดในอังกฤษให้ฟัง คอลัมน์ ไฟป่า อาจารย์ศศินเล่าย้อนอดีตถึงชีวิตในหมู่บ้านคลิตี้ที่เป็นจุดเปลี่ยนใหญ่ของชีวิต ส่วนคอลัมน์ world while web ฉบับนี้ ทีปกรเล่าเรื่องล้ำๆ ที่คอมพิวเตอร์สัมผัสความรู้สึกของเรื่องราวในหนังสือได้!