fbpx

Home / article / Jimmy Liao: ส่วนผสมที่ลงตัวของความเหงา ความหวัง และความหวาน

Jimmy Liao: ส่วนผสมที่ลงตัวของความเหงา ความหวัง และความหวาน

a book Publishing

May 19, 2019

เรื่อง: นพดล เลิศเอกสิริ
ภาพ: Jimmy Liao

น่าแปลกที่เวลาเราหยิบหนังสือภาพบางเล่มมาอ่านอีกครั้ง เรามักจะเจอสิ่งที่มองข้ามไปในครั้งแรก หรือบางทีเราอาจจะไม่ได้เพิ่งสังเกตเห็น แต่เพิ่งเข้าใจมันในวันที่เราอ่านผลงานของเขามากขึ้นเรื่อยๆ เพราะโลกในจินตนาการของศิลปินนั้นกว้างใหญ่เกินกว่าจะสิ้นสุดด้วยหนังสือเล่มเดียว (และรอบเดียว)  ดังนั้นการอ่านซ้ำหลายครั้งก็อาจทำให้สนุกกับหนังสือมากกว่าเดิม

A Fish That Smiled At Me

และหนังสือของจิมมี่ เลี่ยว ศิลปินชาวไต้หวันที่ครองใจนักอ่านทั่วโลกมานับไม่ถ้วนเป็นหนึ่งในนั้น นอกจากลายเส้นที่ชวนฝัน และเนื้อเรื่องที่ชวนตั้งคำถามอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเขาแล้ว หนังสือของจิมมี่ยังเต็มไปด้วยองค์ประกอบมากมายที่ชวนให้เราสำรวจและเชื่อมโยงได้จากเล่มสู่เล่ม และนี่คือจุดร่วมที่เรามักพบเจอในหนังสือของเขา 

ตัวละครสัตว์คู่ใจ 

ถึงเศร้าหรือเหงาเป็นบางครา แต่จิมมี่ก็แทบไม่เคยปล่อยให้ตัวละครหลักของเขาเดียวดายในโลกอันกว้างใหญ่ เขามักจะสร้างเพื่อนคู่ใจเป็นเหล่าสัตว์ตัวน้อยใหญ่ไว้อยู่เคียงข้างพวกเขาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกระต่ายตัวโตบ้างตัวจ้อยบ้างที่ปรากฏใน Secrets in the Wood, Beautiful Solitude, The Sounds of Colors และอีกหลายเล่มรวมถึง To Read or Not to Read, That is My Question ผลงานเล่มล่าสุดด้วย

จาก Secrets in the Wood

อาศัยในโลกใบเดียวกัน 

แม้แต่ละเล่มจะมีเรื่องราวที่ต่างกันไป แต่คล้ายว่าตัวละครของจิมมี่นั้นจะอาศัยอยู่ในโลกใบเดียวกัน เพราะหากสังเกตดีๆ จะเห็นตัวละครหลายตัว ไปปรากฎตัวในหนังสือเล่มอื่น ไม่ว่าจะเป็น ตัวละครเด็กผู้โอบอุ้มพระจันทร์จาก The Moon Forgets ก็แอบไปปรากฏตัวลับๆ ใน The Blue Stone และ The Sound of Colors หรือตัวละครชายหนุ่มกับโหลปลาใน A Fish That Smiled At Me ก็ไปโผล่อยู่ใน Mr.Wing เช่นกัน

จาก Mr. Wing

พระจันทร์นั้นสำคัญฉไน 

ถ้าต้องเลือกระหว่างพระอาทิตย์กับพระจันทร์ เราเดาว่าจิมมี่จะชอบอย่างหลังมากกว่า ไม่ใช่ว่าเขาไม่เคยวาดพระอาทิตย์เลย หากแต่พระจันทร์ถูกกล่าวถึงมากกว่า อาจเพราะเป็นตัวแทนของความเหงาได้ดีทั้งยังโรแมนติกอีกด้วย

จาก The Moon Forgets

หน้าต่าง บ้าน รถไฟ

ในโลกการ์ตูนของจิมมี่ เรามักจะได้เห็นฉากหลังเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งไม่แน่ว่าจริงๆ แล้วเขาอาจจะถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้มาจากความเป็นจริงของชีวิตเขา บานหน้าต่างอาจจะเป็นสิ่งที่เขาชอบมอง เขาจึงมักวาดให้ตัวละครของเขามองออกไปจากหน้าต่าง อาจจะดูเหงา แต่ในขณะเดียวกันตัวละครอาจจะกำลังฝันหวานหรือหวังถึงบางสิ่งอยู่ก็ได้ บ้านอาจจะเป็นที่ที่จิมมี่ชอบอยู่ ที่ที่รู้สึกปลอดภัย และรถไฟก็อาจจะเป็นขนส่งมวลชนที่เขาใช้เป็นประจำ (รวมถึงเป็นส่วนสำคัญของชีวิตคนเมือง) แต่มันจะใช่หรือไม่ก็อาจจะมีเพียงเขาเท่านั้นที่รู้

จาก The Sound of Colors

ดวงตาที่ยังคงอยู่ 

นอกจากจะเป็นตัวละครหลักอย่างกระต่ายใน Secrets In The Woods ที่มักฉายเพียงดวงตากลมโตดูน่าพิศวงให้เห็น แต่หากสังเกตดีๆ ดวงตาของสัตว์อีกหลายตัวที่มักคอยจ้องมองตัวละครยังซ่อนอยู่ในอีกหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นใน Mr. Wing, It Was Not a Long Long Time Ago หรือ The Moon Forgets คล้ายกับกะสื่อสารว่าเราล้วนถูกใครบางคนจับจ้องอยู่ตลอดเวลาในทุกแห่งหน  

จาก Mr. Wing

เราเชื่อว่ายังมีอีกสิ่งในหนังสือของจิมมี่ เลี่ยวที่เราไม่ได้กล่าวถึง เมื่อหยิบขึ้นมาอ่านอีกครั้งเราอาจจะพบอะไรเพิ่มขึ้นอีก และสำหรับเราส่วนผสมเหล่านี้ทำให้หนังสือของจิมมี่ เลี่ยวเหมือนมีมนตร์สะกดที่เราจะอยากหยิบมาอ่านซ้ำไม่รู้เบื่อ

To Read or Not to Read, That is My Question

เตรียมพบกับผลงานเล่มล่าสุดของจิมมี่ เลี่ยว To Read or Not to Read, That is My Question เรื่องราวที่เริ่มขึ้นจากร้านหนังสือร้านหนึ่งที่กำลังต้องปิดตัวลงเพราะคนไปซื้อหนังสือน้อยลงทุกที…

Pre-order https://godaypoets.com/product/to-read-or-not-to-read/

East side story เมื่อยุโรปมืด – ตะวันออกหม่น

อาจกล่าวได้ว่าหนังสือ ‘ยุโรปมืด’ ของ ‘พีรพัฒน์ ตัณฑวณิช’ คือหนังสือที่นำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โดยเล่าเรื่องผ่านสถานที่ มากกว่าการเป็นหนังสือท่องเที่ยวที่แทรกเกร็ดประวัติศาสตร์

view more

คุยกับ พีรพัฒน์ ตัณฑวณิช “ยุโรปมืด” แล้วเอเชียสว่างไหม

หลังจากเจ็ดปีในต่างแดน โดยเรียนปริญญาโทที่ญี่ปุ่นสองปี และต่อปริญญาเอกที่แคนาดาอีกห้าปี ตั๊บ-พีรพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์และนักเขียนเจ้าของผลงาน “ยุโรปมืด” กลับมาเมืองไทยพร้อมปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา และปัจจุบันทำงานให้กับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หลังจากเราตีพิมพ์ต้นฉบับของเขาจนเป็น Best Seller มานาน วันนี้อะบุ๊กเพิ่งได้พบหน้าค่าตากัน เราจึงชวนเขามาคุยกันสารพัดเรื่อง ทั้งการเมือง เศรษฐศาสตร์ และสงครามโลก ที่หลายคนอยากรู้ว่าจะเกิดขึ้นอีกไหมในชั่วชีวิตนี้ (แทบ) ทุกราชวงศ์เป็นลูกหนี้ชาวยิว ในหนังสือผมพูดถึงชาวยิวซึ่งเป็นชนชาติที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองไปมากมาย และในขณะเดียวกัน รู้ไหมครับว่าตระกูลที่มั่งคั่งที่สุดก็ยังคงเป็น House of Rothschild ซึ่งคือยิวเหมือนกัน รวยมานาน และยังคงรวยอยู่ เป็นเจ้าของสถาบันการเงิน มีอิทธิพลทางการเงินสูงมากต่อโลก ราชวงศ์ไหนเปิดสงครามก่อน เขาก็จะไฟแนนซ์อีกฝั่งหนึ่ง พูดง่ายๆ คือทุกราชวงศ์เนี่ยเป็นลูกหนี้เขาหมดเลย ไม่ทำสงครามเพราะกลัวจน หลายคนเชื่อว่าที่เราไม่รบกันเพราะทุกประเทศคำนึงถึงเศรษฐกิจ ผลประโยชน์อาจเป็นแรงผลักดันที่ดีที่ทำให้เราเลี่ยงสงคราม อย่างอะลีบาบาก็ไม่อยากให้อเมริกาเกิดสงคราม เพราะอะลีบาบาก็เทรดอยู่ในตลาดนิวยอร์ก จริงอยู่ เมื่อก่อนนายทุนค้าอาวุธย่อมสนับสนุนให้เกิดสงคราม แต่ตอนนี้ถ้าเป็นสงครามสเกลใหญ่ ผมไม่มั่นใจว่ามันจะดีกับเขาหรือเปล่านะ เขาอาจจะอยากให้มีสเกลเล็กแล้วทุ่มไปกับรีเสิร์ช เพราะทุกวันนี้ เวลารบกันมันไม่ใช่ทหารราบรบกันแล้วครับ มันเป็นการรบด้วยรีเสิร์ชเสียเยอะ จริงๆ ผมไม่ค่อยรู้เรื่องพวกนี้นะครับ แต่ความเชื่อส่วนตัว ผมคิดว่าชั่วชีวิตผมไม่น่าจะได้เห็นสงครามสเกลใหญ่ขนาดนั้นอีกแล้ว แต่สงครามเล็ก ๆ น้อย […]

view more

ภาพถ่ายและตัวอักษรที่สะท้อนตัวตนของ ADDCANDID ในปกหนังสือ ‘A(dd)-perture’

พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์ หรือ ADDCANDID ช่างภาพมากฝีมือระดับ Leica Thailand Ambassador ได้มาออกหนังสือที่เล่าเรื่องราวหลังเลนส์กล้องของเขา เขาถ่ายทอดมันออกมาด้วยสำนวนภาษาขี้เล่นและอารมณ์ดี โดยมีภาพถ่ายที่สวยและจับจังหวะอย่างเฉียบคมของเขาเป็นส่วนประกอบ สองสิ่งนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจเบื้องหลังการออกแบบปกของ ’29thwinter’ ที่ตีความทั้งสองอย่างออกมาในรูปแบบของเธอ “ปกเล่มนี้เริ่มจากการเลือกรูปกันในกอง โดยมีโจทย์ว่าต้องเป็นรูปที่แสดงถึงสไตล์การถ่ายรูปของผู้เขียนอย่างชัดเจน เราจึงพยายามเลือกรูปที่ให้ความรู้สึกของการถูก snap และมีความ candid ในแบบของเขา การเลือกรูปที่ใช่นั้นค่อนข้างยาก เพราะรูปถ่ายของเขาสวยหมดทุกรูปเลย แต่เซตภาพที่เราชอบมากที่สุดคือเซต ‘ปารีส’ โดยเฉพาะรูป ‘the kiss’ ที่สำหรับเรามันยังเป็นรูปที่ใช่เสมอ แม้ว่ามันจะเคยใช้เป็นปก photobook ของเขาไปแล้วก็ตาม  การเลือกใช้ฟอนต์ต่างกันในชื่อหนังสือบนปก เพราะเราอยากให้มีลูกเล่นที่สื่อถึงคาแรคเตอร์ความเป็นกันเองของผู้เขียน ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาสนุกๆ ด้านในเล่ม การวางชื่อพาดตรงกลางเป็นความตั้งใจให้ตัววงเล็บคาดตรงปากของทั้งสองคนพอดี เพื่อให้ภาพดูน่าค้นหามากยิ่งขึ้นจากการที่เราได้ปิดบังบางส่วนไป เมื่อเราได้รูปกับฟอนต์ที่พอดีแล้ว องค์ประกอบอื่นๆ และสีที่เลือกจึงใช้เท่าที่จำเป็น ด้วยแนวคิดที่อยากให้มันออกมาแบบ minimal แต่ดูโดดเด่นไม่จืดชืด” สั่งซื้อหนังสือ ‘A(dd)-perture’ โดย ADDCANDID ได้แล้วที่ https://godaypoets.com/product/add-perture/

view more