Home / article / “พี่แฮงก์สเขาไม่ได้มาเล่นๆ” จ่อไมค์ถามหลังอ่านจบ กับสารพัดความเห็นต่อ Uncommon Type
“พี่แฮงก์สเขาไม่ได้มาเล่นๆ” จ่อไมค์ถามหลังอ่านจบ กับสารพัดความเห็นต่อ Uncommon Type
a book Publishing
Jul 28, 2019

เขียน: นพดล เลิศเอกสิริ
ภาพ: REUTERS/Mario Anzuoni, REUTERS/Hannah McKay, REUTERS/Lucas Jackson, REUTERS/Dario Pignatelli
หากเปรียบการอ่านหนังสือสักเล่มเป็นการดูหนังรอบปฐมทัศน์ เสียงตอบรับจากเหล่านักอ่าน ก็คงไม่ต่างไปจากคำชื่นชม (หรือก่นด่าในบางครั้ง) ของเหล่าเพื่อนร่วมวงการ และนักวิจารณ์ ที่ถูกสื่อจ่อไมค์ถาม และถ้าคุณเป็นดาราฮอลลีวู้ดผู้เคยได้รับรางวัลออสการ์ถึงสองครั้งอย่างทอม แฮงก์ส ที่ผลงานของก็คุณยิ่งถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษอย่างแน่นอน เพราะก็ต้องยอมรับว่า หลายๆ คนยังมีภาพจำของ ‘ดาราที่เขียนหนังสือ’ ไปในทางที่ไม่ดีเท่าไร
เมื่อทอม แฮงก์สเปิดตัวเข้าสู่วงการนักเขียนด้วย Uncommon Type หรือฉบับภาษาไทยในชื่อ “พิมพ์ไม่นิยม” ผลงานของเขากลับไม่ถูกรุมด่า หรือปามะเขือเน่าใส่ แถมยังได้รับคำชมจากทั้งเพื่อนร่วมวงการบันเทิง สื่อหลากหลายสำนัก ไปจนถึงหลากนักเขียนนักอ่านจากทั่วมุมโลก นับเป็นก้าวที่สวยงาม สำหรับเส้นทางสายนี้ของเขา
ผู้สื่อข่าวและนักเขียนจาก The Times อย่าง Melissa Katsouli บอกว่า “สำนวนของแฮงก์สนั้นน่าประทับใจ ด้วยน้ำเสียงอันแข็งแกร่งและมีสไตล์ อ่านได้อย่างไหลลื่น น่าติดตาม และเต็มไปด้วยความมั่นใจ จนคุณแทบลืมไปเลยว่ามันเป็นหนังสือของทอม แฮงก์ส ที่เป็นดาราหนัง”
เช่นเดียวกับเสียงของเหล่านักอ่านจากเว็บ goodreads ที่ขึ้นชื่อว่าวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา ก็ให้ความเห็นทำนองว่าเขาไม่ได้มาเล่นๆ “สารภาพว่าตอนแรกฉันค่อนข้างลังเลที่จะเลือกอ่านเล่มนี้เหมือนกัน แคลงใจว่าเขาจะเป็นเพียงนักแสดงอีกคนที่มโนว่าตัวเองเป็นนักเขียนไหมนะ แต่สิ่งที่ฉันได้รับกลับเป็นรวมเรื่องสั้นที่น่าประทับใจ (ทั้งที่ปกติฉันไม่ค่อยสนใจพวกเรื่องสั้นเท่าไร) แต่ละเรื่องช่างสมบูรณ์ และน่าพึงพอใจ” – Taylor
“ทอม แฮงก์ส มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเผยแพร่ผลงานออกสู่สาธารณชน ไม่ต่างไปจากนักเขียนผู้มากประสบการณ์คนอื่นเลย ที่จริงเขาฝากงานเขียนให้ได้เห็นมาแล้วหลายครั้งใน ‘The New York Times’ ‘Vanity Fair’ และ ‘The New Yorker’ ดังนั้นจะเรียกว่าเขาเป็นมือใหม่ในวงการก็ไม่ถูกนัก” – Elyse

ทอม แฮงก์สยังใช้จุดแข็งจากการที่เขาเป็นนักแสดงได้อย่างคุ้มค่า เขาใช้ประโยชน์จากที่เคยรับบทตัวละครต่างๆ มานับไม่ถ้วน ถ่ายทอดออกมาเป็น 17 เรื่องราวได้อย่างมีกึ๋น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรักๆ ของสองหนุ่มสาวที่เป็นเพื่อนกันและดูไม่น่าจะเข้ากันได้ อย่าง ‘สามสัปดาห์เหนื่อยสาหัส’ หรือเรื่องที่แอบจิกกัดวงการบันเทิงที่เขารู้จักเป็นอย่างดีใน ‘มหกรรมสัญจรในนาครแห่งแสงไฟ’ ไปจนถึงเรื่องราวล้ำๆ สุดไซไฟ ท่องเวลาอย่าง ‘อดีตสำคัญสำหรับเรา’ และอีกหลายเรื่องที่ทำให้เรานึกถึงภาพยนตร์บางเรื่องที่เขาเล่น

“แฮงก์ส เป็นนักแสดงที่ได้รับบทมาหลากหลาย แน่นอนว่าสิ่งนั้นมันส่งผลดีต่อเขา จนมาถึงเรา เพราะหนังสือของเขาสะท้อนความหลากหลายนั้นออกมาให้เห็น คุณไม่มีทางรู้เลยว่าจะได้พบเจอกับอะไร” – Helen Brown นักเขียนเจ้าของผลงาน Cleo หนังสือติดอันดับ The New York Times Best Seller
Stephen Fry นักแสดงชาวอังกฤษมากฝีมือ ที่หลายคนอาจคุ้นเคยจาก Alice in Wonderland (2010), Wilde (1997) เองก็ยังชื่นชมถึงผลงานของแฮงก์ส ไว้ว่า
“เรื่องราวต่างๆ ใน Uncommon Type มีตั้งแต่อ่านแล้วขำ ไปจนถึงกินลึกถึงแก่น บอกเล่าเรื่องราวต่างเวลา สถานที่ และรูปแบบ แต่ทั้งหมดยืนยันว่าเขารักการเขียน และสนุกสนานกับการสื่อสาร…ทุกถ้อยคำล้วนแต่ฉลาดเฉลียว ถึงลูกถึงคน และมีความเห็นอกเห็นใจในมนุษย์ด้วยกัน เหมือนเจ้าตัวไม่มีผิด”

เหมือนกับที่เพื่อนร่วมวงการอีกคนอย่าง Mindy Kaling นักแสดงสาวชาวอเมริกันผู้ฝากผลงานให้เราได้เห็นอย่าง Ocean’s Eight (2018), Inside Out (2015) กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ว่าสะท้อนตัวตนของทอม แฮงก์สให้เห็นไม่น้อย โดยเฉพาะน้ำเสียงที่ใช้เล่าเรื่อง
“คุณสมบัติในงานเขียนของทอมคือความขี้เล่น ขณะเดียวกันก็กระทบถึงอารมณ์เบื้องลึก เป็นสิ่งที่คุณหวังว่าจะได้เห็นจากเขาเป๊ะเลย เว้นก็แต่จะดีกว่านี้ถ้าเขามานั่งที่บ้าน แล้วอ่านให้คุณฟังทีละเรื่องด้วย”
กระทั่งรายการวิทยุระดับชาติอย่าง National Public Radio ยังพูดถึง Uncommon Type ไว้ว่า
“ในโลกที่เต็มไปด้วยข่าวที่ชวนสิ้นหวังไม่หยุดหย่อน และวรรณกรรมส่วนมากก็ดูจะพูดถึงแต่เรื่องโลกดิสโทเปีย โลกหลังการถูกทำลายล้าง และความมืดหม่น หดหู่ หนังสือเล่มนี้กลับบอกเล่าเรื่องราวที่อ่อนโยนและปลอบประโลมใจกว่าที่เราจะคาดถึง”

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากเสียงสะท้อนของเหล่านักอ่านที่มีต่อหนังสือเล่มนี้ แต่ต่อให้สิบปากกว่า ก็คงยังทำให้เชื่อไม่ได้จนกว่าจะได้หามาลองอ่านเอง ถ้าอยากรู้ว่าเสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้คืออะไร หาคำตอบได้ใน UNCOMMON TYPE: some stories ‘ พิมพ์ (ไม่) นิยม’ https://godaypoets.com/product/uncommon-type-some-stories/
อ้่างอิง:
https://www.penguin.co.uk/books/111/1114786/uncommon-type/9781784759438.html
https://www.npr.org/2017/10/17/557189603/tom-hanks-lays-out-a-kinder-gentler-world-in-uncommon-type

East side story เมื่อยุโรปมืด – ตะวันออกหม่น
อาจกล่าวได้ว่าหนังสือ ‘ยุโรปมืด’ ของ ‘พีรพัฒน์ ตัณฑวณิช’ คือหนังสือที่นำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โดยเล่าเรื่องผ่านสถานที่ มากกว่าการเป็นหนังสือท่องเที่ยวที่แทรกเกร็ดประวัติศาสตร์

คุยกับ พีรพัฒน์ ตัณฑวณิช “ยุโรปมืด” แล้วเอเชียสว่างไหม
หลังจากเจ็ดปีในต่างแดน โดยเรียนปริญญาโทที่ญี่ปุ่นสองปี และต่อปริญญาเอกที่แคนาดาอีกห้าปี ตั๊บ-พีรพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์และนักเขียนเจ้าของผลงาน “ยุโรปมืด” กลับมาเมืองไทยพร้อมปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา และปัจจุบันทำงานให้กับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หลังจากเราตีพิมพ์ต้นฉบับของเขาจนเป็น Best Seller มานาน วันนี้อะบุ๊กเพิ่งได้พบหน้าค่าตากัน เราจึงชวนเขามาคุยกันสารพัดเรื่อง ทั้งการเมือง เศรษฐศาสตร์ และสงครามโลก ที่หลายคนอยากรู้ว่าจะเกิดขึ้นอีกไหมในชั่วชีวิตนี้ (แทบ) ทุกราชวงศ์เป็นลูกหนี้ชาวยิว ในหนังสือผมพูดถึงชาวยิวซึ่งเป็นชนชาติที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองไปมากมาย และในขณะเดียวกัน รู้ไหมครับว่าตระกูลที่มั่งคั่งที่สุดก็ยังคงเป็น House of Rothschild ซึ่งคือยิวเหมือนกัน รวยมานาน และยังคงรวยอยู่ เป็นเจ้าของสถาบันการเงิน มีอิทธิพลทางการเงินสูงมากต่อโลก ราชวงศ์ไหนเปิดสงครามก่อน เขาก็จะไฟแนนซ์อีกฝั่งหนึ่ง พูดง่ายๆ คือทุกราชวงศ์เนี่ยเป็นลูกหนี้เขาหมดเลย ไม่ทำสงครามเพราะกลัวจน หลายคนเชื่อว่าที่เราไม่รบกันเพราะทุกประเทศคำนึงถึงเศรษฐกิจ ผลประโยชน์อาจเป็นแรงผลักดันที่ดีที่ทำให้เราเลี่ยงสงคราม อย่างอะลีบาบาก็ไม่อยากให้อเมริกาเกิดสงคราม เพราะอะลีบาบาก็เทรดอยู่ในตลาดนิวยอร์ก จริงอยู่ เมื่อก่อนนายทุนค้าอาวุธย่อมสนับสนุนให้เกิดสงคราม แต่ตอนนี้ถ้าเป็นสงครามสเกลใหญ่ ผมไม่มั่นใจว่ามันจะดีกับเขาหรือเปล่านะ เขาอาจจะอยากให้มีสเกลเล็กแล้วทุ่มไปกับรีเสิร์ช เพราะทุกวันนี้ เวลารบกันมันไม่ใช่ทหารราบรบกันแล้วครับ มันเป็นการรบด้วยรีเสิร์ชเสียเยอะ จริงๆ ผมไม่ค่อยรู้เรื่องพวกนี้นะครับ แต่ความเชื่อส่วนตัว ผมคิดว่าชั่วชีวิตผมไม่น่าจะได้เห็นสงครามสเกลใหญ่ขนาดนั้นอีกแล้ว แต่สงครามเล็ก ๆ น้อย […]

ภาพถ่ายและตัวอักษรที่สะท้อนตัวตนของ ADDCANDID ในปกหนังสือ ‘A(dd)-perture’
พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์ หรือ ADDCANDID ช่างภาพมากฝีมือระดับ Leica Thailand Ambassador ได้มาออกหนังสือที่เล่าเรื่องราวหลังเลนส์กล้องของเขา เขาถ่ายทอดมันออกมาด้วยสำนวนภาษาขี้เล่นและอารมณ์ดี โดยมีภาพถ่ายที่สวยและจับจังหวะอย่างเฉียบคมของเขาเป็นส่วนประกอบ สองสิ่งนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจเบื้องหลังการออกแบบปกของ ’29thwinter’ ที่ตีความทั้งสองอย่างออกมาในรูปแบบของเธอ “ปกเล่มนี้เริ่มจากการเลือกรูปกันในกอง โดยมีโจทย์ว่าต้องเป็นรูปที่แสดงถึงสไตล์การถ่ายรูปของผู้เขียนอย่างชัดเจน เราจึงพยายามเลือกรูปที่ให้ความรู้สึกของการถูก snap และมีความ candid ในแบบของเขา การเลือกรูปที่ใช่นั้นค่อนข้างยาก เพราะรูปถ่ายของเขาสวยหมดทุกรูปเลย แต่เซตภาพที่เราชอบมากที่สุดคือเซต ‘ปารีส’ โดยเฉพาะรูป ‘the kiss’ ที่สำหรับเรามันยังเป็นรูปที่ใช่เสมอ แม้ว่ามันจะเคยใช้เป็นปก photobook ของเขาไปแล้วก็ตาม การเลือกใช้ฟอนต์ต่างกันในชื่อหนังสือบนปก เพราะเราอยากให้มีลูกเล่นที่สื่อถึงคาแรคเตอร์ความเป็นกันเองของผู้เขียน ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาสนุกๆ ด้านในเล่ม การวางชื่อพาดตรงกลางเป็นความตั้งใจให้ตัววงเล็บคาดตรงปากของทั้งสองคนพอดี เพื่อให้ภาพดูน่าค้นหามากยิ่งขึ้นจากการที่เราได้ปิดบังบางส่วนไป เมื่อเราได้รูปกับฟอนต์ที่พอดีแล้ว องค์ประกอบอื่นๆ และสีที่เลือกจึงใช้เท่าที่จำเป็น ด้วยแนวคิดที่อยากให้มันออกมาแบบ minimal แต่ดูโดดเด่นไม่จืดชืด” สั่งซื้อหนังสือ ‘A(dd)-perture’ โดย ADDCANDID ได้แล้วที่ https://godaypoets.com/product/add-perture/