fbpx

Home / article / Cover Story / ชวนน้ำใส ศุภวงศ์ ถอดรหัสดีไซน์ปก UNCOMMON TYPE พิมพ์ (ไม่) นิยม

ชวนน้ำใส ศุภวงศ์ ถอดรหัสดีไซน์ปก UNCOMMON TYPE พิมพ์ (ไม่) นิยม

a book Publishing

Jun 7, 2019

ปกที่ดูเรียบง่ายนั้นไม่ได้ได้มาง่ายๆ ภาพที่มีรูปเงาหน้าทอม แฮงก์ส บนเครื่องพิมพ์ดีด มาจากการทำงานหนักของ น้ำใส ศุภวงศ์ เจ้าของผลงานปกเล่มนี้ ที่เจ้าตัวเองไม่เคยสัมผัสเครื่องพิมพ์ดีดมาเลยในชีวิต เราจึงชวนนักออกแบบไฟแรงคนนี้มาเล่าให้ฟังแบบจัดเต็มว่า กว่าจะออกมาเป็นปกหนังสือ ‘พิมพ์ (ไม่) นิยม’ ของทอม แฮงก์ส ที่ส่งไปให้ผู้เขียนพิจารณาครั้งเดียวผ่านปกนี้ ผ่านกระบวนการอะไรมาบ้าง

น้ำใส ศุภวงศ์

ไอเดียเริ่มต้นของการออกแบบปกเล่มนี้คืออะไร

ด้วยชื่อหนังสือกับเนื้อเรื่องที่มีเครื่องพิมพ์ดีดเป็นเหมือนตัวละครประกอบทุกบท บวกกับที่ทอม แฮงก์ส ก็เป็นคนคลั่งไคล้เครื่องพิมพ์ดีดมาก เลยคิดว่ายังไงภาพปกก็ต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องพิมพ์ดีด

เคยใช้เครื่องพิมพ์ดีดมาบ้างไหม

ไม่เคยเลย ก็เลยไปเสิร์ชรูปเครื่องหลายๆ แบบ ไปดูรูปที่แยกชิ้นส่วนออกมา และยูทูบที่คนสอนใช้เครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งมีคลิปหนึ่งของทอม แฮงก์ส ที่เขาสาธิตวิธีเปลี่ยนผ้าหมึกเครื่องพิมพ์ดีดด้วย แต่สุดท้ายพอเอามาใช้จริงก็ยังรู้สึกว่ายากอยู่ดี เพราะเราไม่มีเครื่องอยู่ที่บ้าน คนรอบตัวเราก็ไม่มีใครมี และรูปร่างหน้าตาเครื่องก็เยอะมาก เราจึงเลือกที่จะทำภาพให้เรียบง่ายที่สุด ไม่อยากให้คนมาจับผิดว่าคนนี้ไม่รู้จริงนี่นา (หัวเราะ) ก็เลยตัดทอนเยอะ แค่ดึงเอกลักษณ์ของเครื่องพิมพ์ดีดออกมา

ก็เลยกลายมาเป็นรูปหน้าทอม แฮงก์ส บนเครื่องพิมพ์ดีด

ความท้าทายผสมหนักใจคือเราอยากออกแบบเครื่องพิมพ์ดีดให้ออกมาแตกต่าง ถ้าจะออกแบบมาให้เป็นเครื่องพิมพ์ดีดอย่างเดียว มันแทบไม่มีอะไรให้เล่นแล้ว เราจึงคิดว่าจะใส่หน้าคน แล้วค่อยคิดว่าจะนำมาใช้ส่วนไหนให้ดูไม่ยัดเยียด พยายามทำให้เครื่องพิมพ์ดีดนี้มีจุดจดจำว่าออกแบบมาพิเศษสำหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ แต่ความคิดแรกยังไม่ได้คิดว่าเป็นหน้าทอม แฮงก์ส เพราะจากที่ได้อ่านเรารู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้มันคือการเล่าชีวิตคนหลายคน แต่จุดเชื่อมอย่างหนึ่งของทุกบทคือมีเครื่องพิมพ์ดีดอยู่ร่วมด้วย เราจึงอยากให้มีซิลลูเอตหน้าคนอยู่กับเครื่องพิมพ์ดีด อันนี้คือไอเดีย แต่การทำหน้าคนซ้อนกันเยอะๆ มันออกมาไม่เวิร์ก เราเลยเลือกภาพเงาที่คล้ายทอม แฮงก์ส แม้จะไม่ได้ดูเหมือนมาก (หัวเราะ) 

เลือกสีสันและฟ้อนต์ที่ใช้บนปกยังไง

มู้ดแอนด์โทนของเล่มนี้ พี่เอิง อาร์ตไดเร็กเตอร์ของอะบุ๊กช่วยชี้เป้ามาให้ว่าเป็นอเมริกันวินเทจและให้ชุดสีซึ่งมาจากสีจริงของเครื่องพิมพ์ดีดบางส่วนที่ทอม แฮงก์ส สะสมไว้ โดยเฉพาะเครื่องสีส้ม ครีม และฟ้า ส่วนฟ้อนต์ที่บนปกเลือกมาจากภาพจำที่ติดตามาจากพวกโปสเตอร์ยุคเก่าๆ ของอเมริกา ตอนแรกฟ้อนต์ที่เลือกไปคือตั้งใจให้ดูเชยหน่อยเพราะรู้สึกว่าความเชยก็ให้อารมณ์ของเรื่องนี้ดี แต่ก็คุยกับพี่เอิง อาร์ตไดเร็กเตอร์ สรุปว่าให้มีความเชยบ้างและมีความทันสมัยบ้างมาตัดกัน ส่วนเอฟเฟ็กต์ตรงฐานเครื่องพิมพ์ดีดที่มีรอยจางๆ ก็มาจากมู้ดแอนด์โทนหลักที่อยากให้มีความเป็นวินเทจ โดยเรานึกถึงโปสเตอร์สมัยก่อนที่น่าจะไม่สามารถพริ้นต์ได้ชัดเท่าสมัยนี้ จึงทำให้มีเอฟเฟ็กต์ที่มันไม่ได้คมมาก 

สังเกตเห็นตัว x ที่เรียงกันอยู่ด้านขวา ตรงนี้มีความหมายพิเศษอะไรมั้ย

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเครื่องพิมพ์ดีดคือเวลาพิมพ์ออกมาฟ้อนต์มันจะไม่ได้เท่ากันทุกตัว และมันก็เข้ากับเนื้อเรื่องที่ว่าชีวิตของคนในเรื่องที่มันขาดๆ เกินๆ ซึ่งมันเป็นเอฟเฟ็กต์ที่ให้ความเป็นมนุษย์ดี คือมีความไม่ได้สม่ำเสมอ

Pre-order หนังสือ UNCOMMON TYPE: some stories พิมพ์ (ไม่) นิยม โดย ทอม แฮงก์ส ได้แล้วที่ https://godaypoets.com/product/uncommon-type/

East side story เมื่อยุโรปมืด – ตะวันออกหม่น

อาจกล่าวได้ว่าหนังสือ ‘ยุโรปมืด’ ของ ‘พีรพัฒน์ ตัณฑวณิช’ คือหนังสือที่นำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โดยเล่าเรื่องผ่านสถานที่ มากกว่าการเป็นหนังสือท่องเที่ยวที่แทรกเกร็ดประวัติศาสตร์

view more

คุยกับ พีรพัฒน์ ตัณฑวณิช “ยุโรปมืด” แล้วเอเชียสว่างไหม

หลังจากเจ็ดปีในต่างแดน โดยเรียนปริญญาโทที่ญี่ปุ่นสองปี และต่อปริญญาเอกที่แคนาดาอีกห้าปี ตั๊บ-พีรพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์และนักเขียนเจ้าของผลงาน “ยุโรปมืด” กลับมาเมืองไทยพร้อมปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา และปัจจุบันทำงานให้กับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หลังจากเราตีพิมพ์ต้นฉบับของเขาจนเป็น Best Seller มานาน วันนี้อะบุ๊กเพิ่งได้พบหน้าค่าตากัน เราจึงชวนเขามาคุยกันสารพัดเรื่อง ทั้งการเมือง เศรษฐศาสตร์ และสงครามโลก ที่หลายคนอยากรู้ว่าจะเกิดขึ้นอีกไหมในชั่วชีวิตนี้ (แทบ) ทุกราชวงศ์เป็นลูกหนี้ชาวยิว ในหนังสือผมพูดถึงชาวยิวซึ่งเป็นชนชาติที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองไปมากมาย และในขณะเดียวกัน รู้ไหมครับว่าตระกูลที่มั่งคั่งที่สุดก็ยังคงเป็น House of Rothschild ซึ่งคือยิวเหมือนกัน รวยมานาน และยังคงรวยอยู่ เป็นเจ้าของสถาบันการเงิน มีอิทธิพลทางการเงินสูงมากต่อโลก ราชวงศ์ไหนเปิดสงครามก่อน เขาก็จะไฟแนนซ์อีกฝั่งหนึ่ง พูดง่ายๆ คือทุกราชวงศ์เนี่ยเป็นลูกหนี้เขาหมดเลย ไม่ทำสงครามเพราะกลัวจน หลายคนเชื่อว่าที่เราไม่รบกันเพราะทุกประเทศคำนึงถึงเศรษฐกิจ ผลประโยชน์อาจเป็นแรงผลักดันที่ดีที่ทำให้เราเลี่ยงสงคราม อย่างอะลีบาบาก็ไม่อยากให้อเมริกาเกิดสงคราม เพราะอะลีบาบาก็เทรดอยู่ในตลาดนิวยอร์ก จริงอยู่ เมื่อก่อนนายทุนค้าอาวุธย่อมสนับสนุนให้เกิดสงคราม แต่ตอนนี้ถ้าเป็นสงครามสเกลใหญ่ ผมไม่มั่นใจว่ามันจะดีกับเขาหรือเปล่านะ เขาอาจจะอยากให้มีสเกลเล็กแล้วทุ่มไปกับรีเสิร์ช เพราะทุกวันนี้ เวลารบกันมันไม่ใช่ทหารราบรบกันแล้วครับ มันเป็นการรบด้วยรีเสิร์ชเสียเยอะ จริงๆ ผมไม่ค่อยรู้เรื่องพวกนี้นะครับ แต่ความเชื่อส่วนตัว ผมคิดว่าชั่วชีวิตผมไม่น่าจะได้เห็นสงครามสเกลใหญ่ขนาดนั้นอีกแล้ว แต่สงครามเล็ก ๆ น้อย […]

view more

ภาพถ่ายและตัวอักษรที่สะท้อนตัวตนของ ADDCANDID ในปกหนังสือ ‘A(dd)-perture’

พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์ หรือ ADDCANDID ช่างภาพมากฝีมือระดับ Leica Thailand Ambassador ได้มาออกหนังสือที่เล่าเรื่องราวหลังเลนส์กล้องของเขา เขาถ่ายทอดมันออกมาด้วยสำนวนภาษาขี้เล่นและอารมณ์ดี โดยมีภาพถ่ายที่สวยและจับจังหวะอย่างเฉียบคมของเขาเป็นส่วนประกอบ สองสิ่งนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจเบื้องหลังการออกแบบปกของ ’29thwinter’ ที่ตีความทั้งสองอย่างออกมาในรูปแบบของเธอ “ปกเล่มนี้เริ่มจากการเลือกรูปกันในกอง โดยมีโจทย์ว่าต้องเป็นรูปที่แสดงถึงสไตล์การถ่ายรูปของผู้เขียนอย่างชัดเจน เราจึงพยายามเลือกรูปที่ให้ความรู้สึกของการถูก snap และมีความ candid ในแบบของเขา การเลือกรูปที่ใช่นั้นค่อนข้างยาก เพราะรูปถ่ายของเขาสวยหมดทุกรูปเลย แต่เซตภาพที่เราชอบมากที่สุดคือเซต ‘ปารีส’ โดยเฉพาะรูป ‘the kiss’ ที่สำหรับเรามันยังเป็นรูปที่ใช่เสมอ แม้ว่ามันจะเคยใช้เป็นปก photobook ของเขาไปแล้วก็ตาม  การเลือกใช้ฟอนต์ต่างกันในชื่อหนังสือบนปก เพราะเราอยากให้มีลูกเล่นที่สื่อถึงคาแรคเตอร์ความเป็นกันเองของผู้เขียน ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาสนุกๆ ด้านในเล่ม การวางชื่อพาดตรงกลางเป็นความตั้งใจให้ตัววงเล็บคาดตรงปากของทั้งสองคนพอดี เพื่อให้ภาพดูน่าค้นหามากยิ่งขึ้นจากการที่เราได้ปิดบังบางส่วนไป เมื่อเราได้รูปกับฟอนต์ที่พอดีแล้ว องค์ประกอบอื่นๆ และสีที่เลือกจึงใช้เท่าที่จำเป็น ด้วยแนวคิดที่อยากให้มันออกมาแบบ minimal แต่ดูโดดเด่นไม่จืดชืด” สั่งซื้อหนังสือ ‘A(dd)-perture’ โดย ADDCANDID ได้แล้วที่ https://godaypoets.com/product/add-perture/

view more